เมนู

อรรถกถาเสวนาสูตรที่ 6


พึงทราบวินิจฉัยในเสวนาสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชีวิตปริกฺขารา ได้แก่ เป็นสิ่งเกื้อกูลแก่ชีวิต. บทว่า
สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ บรรพชิต พึงรวบรวมไว้. บทว่า กสิเรน
สมุทาหรนฺติ
ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้นได้โดยความลำบาก. ในบทว่า
รตฺติภาคํ วา ทิวสภาคํ วา นี้ บุคคลนั้นรู้ในกลางคืน พึงหลีกไปเสีย
ในกลางคืนทีเดียว เมื่ออันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้นมีอยู่ในกลางคืน
พึงรอถึงดวงอาทิตย์ขึ้น รู้ในกลางวัน พึงหลีกไปเสียในกลางวัน
เมื่ออันตรายมีอยู่ในกลางวัน พึงรอถึงดวงอาทิตย์ตก. บทว่า สงฺขาปิ
ได้แก่ รู้เหตุร้ายความเต็มด้วยภาวนาของความเป็นสมณะ. ส่วน
บท โส ปุคฺคโล พึงสัมพันธ์ด้วยบทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ บทว่า
อนาปุจฺฉา ความว่า แต่ในที่นี้ พึงหลีกไปไม่ต้องลาบุคคลนั้น.
บทว่า อปิ ปนุชฺชมาเนน ได้แก่ ถูกคร่าออกไป. ก็บุคคลเห็นปานนี้
ลงโทษให้ยกมัดฟืนหนึ่งร้อย หม้อน้ำหนึ่งร้อย หรือหม้อทรายหนึ่งร้อย
หรือให้ไล่ออกไปด้วยกล่าวว่า ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ แม้ให้ผู้นั้นขอโทษ
แล้ว พึงติดตามคือไม่พึงทอดทิ้งบุคคลนั้นไปตลอดชีวิต
จบ อรรถกถาเสวนาสูตรที่ 6

7. สุตวาสูตร


ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด


[211] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล สุตวาปริพาชกเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งข้าพระองค์และพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
ที่เมืองคิริพชะ ใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์
ได้สดับรับฟังเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนสุตวะ
ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระแล้วมีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ
มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ 5 ประการ คือ
ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ 1 ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย 1 ไม่ควรเสพเมถุน
ธรรม 1 ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ 1 ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภค
กามคุณเหมือนเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน 1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
คำนี้ข้าพระองค์ฟังมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงทำไว้
ดีแล้ว และหรือ.